กีฬาพื้นบ้าน
กีฬาพื้นบ้าน – ความเป็นมาของกีฬาพื้นบ้าน ในอดีตมีกีฬาพื้นบ้านต่างๆให้เล่นมากมายตั้งแต่รุ่นก่อนๆจนกระทั่งถึงรุ่นปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่ซึ่งแต่ก็น้อยกว่าในสมัยก่อนมากเพราะสมัยปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามามากจึงทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยได้เล่นกันนัก ดังนี้นวันนี้เราจะมาให้ความรู้สำหรับผู้ที่ไม่เคยรู้จักกีฬาพื้นบ้านกันว่าสมัยก่อนมีกีฬาพื้นบ้านอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ
เดินกะลา
ผู้เล่น
เดี่ยว แต่ละทีมส่งได้ไม่เกิน 2 คน
อุปกรณ์
- ระยะทาง 30 เมตร หรือวิ่งอ้อมหลักก็ได้
- ลูกมะพร้าวผ่าครึ่งทั้งเปลือก เพื่อป้องกันการแตกชำรุด เจาะรูร้อยเชือกและตัดส่วนผ่าศูนย์กลางกว้างไม่เกิน 4 นิ้ว เพื่อเป็นที่วางเท้าหรือคีบสายเชือก
- ความยาวของเชือกเมื่อผูกปมกะลาแล้วให้มีความยาวสูงถึงอกของนักกีฬา
วิธีเล่น
- ให้นักกีฬายืนบนกะลา จับเชือก ยืนหลังเส้นเตรียมพร้อมที่จะแข่งขัน
- เมื่อได้ยินสัญญาณจากกรรมการ ให้เดินหรือวิ่งให้ถึงเส้นชัย
กติกา
- ผู้เล่นคนใดตกจากกะลาหรือเชือกหลุด ขาด ต้องออกจากการแข่งขัน
- ให้มีกรรมการตัดสิน 1 คน ทำหน้าที่ควบคุมการเล่น และตัดสินผลการแข่งขัน
กีฬาแย้ลงรู
ผู้เล่น
แยกเพศชาย หญิง ประเภทเดี่ยว ทำการแข่งขันประกอบด้วยผู้เล่นจำนวน 4 ทีม
อุปกรณ์การเล่น
- เชือกขนาด 1 นิ้ว ผูกชายออก 4 เส้น ทำเป็นห่วงสำหรับสวมที่เอวของผู้แข่งขัน ยาว 3 เมตร
- ธงเล็กๆ พร้อมกับปัก จำนวน 4 ธง ห่างจากธง 2 เมตร
วิธีเล่น
- ให้ผู้เล่นทั้ง 4 คน ไปยืนที่จุดและสวมห่วงที่เอว ด้านละ 1 คน ให้ผู้เล่นหันหน้าไปที่ธงปักไว้ ต่างคนต่างคุกเข่าลงหรือคลานโน้มตัวไปข้างหน้าพอให้เชือกตึง อนุญาตให้ใช้มือจับเชือกได้ 1 ข้างเท่านั้น เพื่อป้องกันเชือกหลุด
- เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเริ่มเล่น ให้ผู้เล่นออกแรงดึงโดยใช้ท้องดึงเชือก พยายามคลานออกไปจับธงให้ได้
- ผู้เล่นคนใดคว้าธงได้ก่อนเป็นผู้ชนะ
กติกา
- ให้เชือกอยู่ในระดับเอวเท่านั้น และจะใช้ท่าใดก็ได้
- ใช้มือจับเชือกที่เอวได้ด้วยมือข้างเดียว ถ้าใช้ 2 มือ จับจะถือว่าแพ้
- มีกรรมการทำหน้าที่ควบคุมการเล่นและตัดสิน อย่างน้อย 1 คน
วิ่งสวมกระสอบ
ผู้เล่น
ผู้เล่นได้ทุกเพศทุกวัย
อุปกรณ์การเล่น
กระสอบข้าวขนาดใหญ่ เท่ากับจำนวนผู้เล่น สนามเล่นระยะทางวิ่ง 30 เมตร
วิธีการเล่น
- วางกระสอบไว้หลังเส้นเริ่ม ผู้เล่นยืนเตรียมพร้อมในท่าตรง
- เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มเล่น ให้ผู้เล่นทุกคนรีบสวมกระสอบแข่งขัน มือจับที่ปากกระสอบแล้วให้วิ่งหรือกระโดดไปที่เส้นชัย
- ผู้เล่นคนใดถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
- บางครั้งอาจจะเป็นการแข่งขันวิ่งอ้อมหลักวิ่งกลับเข้าเส้นชัยที่เส้นเริ่มต้นก็ได้
กติกา
- ผู้เล่นจะต้องสวมกระสอบอยู่ตลอดเวลา โดยวิ่งหรือกระโดดภายในกระสอบ
- ถ้ากระสอบหลุดจากมือ จะต้องหยุดแล้วให้ดึงกระสอบขึ้นโดยเร็ว แต่ต้องไม่ให้เท้าหลุดจากกระสอบ
- ผู้เล่นถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะและหากมีการฝ่าฝืนจะถือว่าแพ้
ขาโถเก้า
ผู้เล่น
กีฬาพื้นบ้าน สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย
อุปกรณ์
- ไม้ไผ่มีกิ่งหรือขั้นสำหรับใช้เท้าเหยียบได้ สูงจากพื้น 30 เซนติเมตร
- ความสูงของไม้ไผ่จากกิ่งไผ่หรือที่เท้าใช้เหยียบสูงขึ้นมาเท่ากับศีรษะของนักกีฬา หรือ 1.70 เมตร รวมไม้ไผ่ยาวทั้งสิ้น 2 เมตร จำนวน 1 คู่ (ห้ามใช้ไม้ทำการเจาะรูหรือใช้ไม้อื่น เป็นที่เหยียบหรือวางเท้าโดยเด็ดขาด)
วิธีเล่น
- ผู้เล่นถือไม้ทั้งคู่ ยืนที่พื้นเตรียมพร้อมที่หลังเส้นเริ่ม
- เมื่อได้ยินสัญญาณเล่นให้ทุกคนขึ้นเหยียบกิ่งไม้ หรือขึ้นที่กิ่งยื่นออกมา มือทั้งสองจับไม้ให้มั่นและแข่งกันไปยังเส้นชัย
- ผู้เล่นคนใดไปถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
กติกา
- ขาโถเก้าจะต้องมีขนาดและความสูงตามกติกา
- ขณะเดิน ผู้เล่นคนใดตกจากไม้ระหว่างทางจะถือว่าแพ้ต้องออกจากการแข่งขัน
- ให้มีกรรมการผู้ตัดสิน และควบคุมการเล่นอย่างน้อย 1 คน
ตีไก่
ผู้เล่น
เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทุกเพศทุกวัย
อุปกรณ์
ไม่มี
วิธีเล่น
- ให้ผู้เล่นนั่งยองๆ ภายในวงกลมเอาแขนทั้งทั้งสองข้าง สอดจับมือกันไว้ที่ใต้ขาพับให้แน่น
- เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มเล่น ให้ผู้เล่นแต่ละคนชนคู่ต่อสู้โดยใช้ด้านข้างลำตัวฝ่ายใดล้มหรือมือหลุดจากกันหรือลุกขึ้นยืนหัวเข่าเกินฉาก หรือ 90 องศา ถือว่าแพ้ต้องออกจากการแข่งขัน
- ผู้ใดสามารถชนคนอื่นให้ล้มลงหรือมือหลุด จนเหลือเพียงคนเดียวคนนั้นถือเป็นผู้ชนะ
กติกา
- ผู้เล่นที่ถูกชนล้มลงหรือมือหลุดถือว่าตาย ต้องออกจากการแข่งขัน
- ผู้เล่นต้องอยู่ภายในเขตวงกลมที่กำหนดให้ ถ้าออกนอกเขตถือว่าตายต้องออกจากการแข่งขัน
- ในการแข่งขันมีกรรมการตัดสินและควบคุมการเล่นอย่างน้อย 1 คน
เตะปีบไกล
ผู้เล่น
สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย
อุปกรณ์
ปีบที่เปิดฝาบนไว้ ให้เพียงพอกับการแข่งขัน ป้ายปักและเทปวัด
วิธีการเล่น
- นักกีฬาติดหมายเลขลงทำการแข่งขัน โดยให้เตะปีบ จำนวน 2 ครั้ง หรือ 2 ลูก โดยวัดเอาลูกทีไกลที่สุดเป็นสถิติเข้ารอบในรอบชิงชนะเลิศ จะไม่เอาสถิติรอบคัดเลือกไปเกี่ยวข้อง
- ทำการแข่งขันคัดเลือกเข้ารอบชิงชนะเลิศ จำนวน 5 คน ของแต่ละรุ่นโดยให้เตะคนละ 2 ครั้ง
- ผู้เล่นคนใดเตะได้ไกลที่สุด ด้วยวิธีการใดก็ได้เป็นผู้ชนะแต่ละรุ่น
กติกา
- ปีบต้องมีความหนาหรือมีน้ำหนักเท่ากัน
- ต้องไม่เป็นปีบแตกหรือบุบ บู้บี้ จนเกินไป ให้อยู่ในดุลพินิจของกรรมการผู้ตัดสิน
- การเตะไปครั้งแรกให้ปักป้ายสัญลักษณ์ไว้ก่อน เมื่อเตะไปครั้งที่ 2 แล้วดูว่า ครั้งไหนไกลกว่ากัน ให้วัดครั้งที่ไกลที่สุด ครั้งเดียวเป็นสถิติ
- มีกรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 คน
มวยทะเล
ผู้เล่น
เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
อุปกรณ์
- นวม
- ไม้หมากหรือเสากลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 6-7 นิ้ว มีความยาว 3-4 เมตร
วิธีการเล่น
- เล่นครั้งละ 2 คน สวมนวมทั้ง 2 ข้าง ปีนขึ้นไปนั่งคร่อมลักษณะขี่ม้าบนเสาไม้พาด ให้แต่ละคนนั่งห่างจากจุดกลางของเสาไม้พาด ประมาณ 1 เมตร หันหน้าเข้าหากัน และพยายามนั่งทรงตัวอยู่บนเสาไม้พาดให้ได้
- กรรมการจะให้สัญญาณเริ่มเล่น ผู้เล่นทั้ง 2 คน จะต้องเขยิบเข้าหากันแล้วต่างชกต่อยกัน เช่นเดียวกับการชกมวยโดยทั่วไป เพื่อทำให้คู่ต่อสู้ตกจากไม้พาด
- ผู้เล่นคนใดสามารถชกต่อยให้อีกฝ่ายหนึ่ง ตกลงจากเสาไม้พาดได้ถือว่าเป็นผู้ชนะ ในครั้งเดียว
- รอบรองชนะเลิศหรือรอบ 4 คนสุดท้าย ให้ทำการแข่งขัน ชกเอาผลการแข่งขัน 2 ใน 3 ยก จนถึงรอบชิงชนะเลิศ
วัวเทียมเกวียน
ผู้เล่น
ทีมๆละ 3คน ส่งเข้าแข่งขันได้ชุมชนละไม่เกิน จำนวน 2ทีม
อุปกรณ์
ไม่ใช้
วิธีการเล่น
- ผู้เล่นแต่ละทีมต้องไปยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม ให้ผู้เล่น 2คน จับมือกันคนละข้าง คนหนึ่งใช้มือซ้าย และอีกคนหนึ่งใช้มือขวา หันหน้าไปทางเส้นชัย เป็นเกวียน อีกคนเป็นคนขี่โดยใช้ขาข้างใดก็ได้ที่ถนัดก้าวพาดแขนของเกวียนให้ยืนด้วยขาข้างเดียว มือทั้ง 2 จับที่บ่าของเพื่อนทั้ง 2 คน
- เริ่มเล่นโดยผู้ตัดสินให้สัญญาณทุกทีมก็เริ่มออกวิ่งตามไปเพียงขาข้างเดียว ตลอดเส้นทางทีมใดไปถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
- ถ้ามีทีมใดมือหลุดจากกันหรือล้ม ถือว่าเป็นผู้แพ้
กติกา
- ต้องให้คนขี่ ขี่ให้เรียบร้อยก่อนเกวียนจึงจะออกวิ่งได้
- คนขี่ไม่วิ่งหรือถูกลากไปถือว่าแพ้
- การแพ้ชนะเป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินอย่างน้อย 1 คน
- นักกีฬาหากมีทีมเข้าแข่งขันจำนวนมากจะมีรอบคัดเลือก
วิ่งเปี้ยว
ผู้เล่น
สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย มีผู้เล่นจำนวน 10 คน แบ่งเป็น ชาย 5 คน หญิง 5 คน หรือมีผู้ชายได้ไม่เกิน 5 คน ยืน วิ่ง สลับกันชายหญิง
อุปกรณ์
- ใช้ผ้าขนหนูเล็ก จำนวน 2 ผืน
- เสาหลักขนาดเท่าเสาเรือน 2 เสา ห่างกัน 10 เมตร
วิธีการเล่น
- ผู้เล่นทั้ง 2 ทีม ต้องยืนเป็นแถวเรียงหนึ่งอยู่ด้านหลังของเสาฝ่ายละต้น เยื้องมาทางด้านขวาของเสาเล็กน้อยหันหน้าเข้าหากัน ผู้เล่นคนแรกอยู่หัวแถวเป็นผู้ชายก่อน ให้ถือผ้าไว้ด้วยมือที่ถนัด
- เมื่อกรรมการให้สัญญาณเริ่มเล่น ให้ผู้เล่นคนแรกของทั้งสองฝ่ายออกวิ่งมายังเสาของฝ่ายตรงข้าม แล้ววิ่งอ้อมเสาทางซ้ายมือ วิ่งกลับมายังเสาเดิมของตนเอง
- พอวิ่งมาถึงเสาของตน ก็ส่งผ้าให้ผู้เล่นคนต่อไป ส่งกันเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไล่ใช้ผ้าตีทีมตรงข้าม ได้เมื่อส่งผ้าให้เพื่อนแล้ววิ่งต่อท้ายแถว
- ต่างฝ่ายต่างวิ่งให้เร็วที่สุด จะวิ่งกี่รอบก็ได้จนกว่าทีมใดใช้ผ้าตีฝ่ายตรงข้ามได้ จึงเป็นฝ่ายชนะ
- ขณะฝ่ายตรงข้ามกำลังวิ่งผ่านเสาของเราให้ยืนห่างจากเสาให้วิ่งผ่านไป ระยะห่าง 1.5 เมตร แล้วจึงขยับไปรอรับผ้าด้านหลังเสาเท่านั้น
กติกา
- ผู้เล่นแต่ละฝ่ายต้องละฝ่ายต้องรับผ้าในแนวหลังของเสานั้น จะรับหน้าเสาไม่ได้
- หากผ้าตกขณะส่งรับ ให้ผู้ส่งเก็บส่งให้แล้วเสร็จ หรือถือวิ่งแล้วตกก็ให้เก็บวิ่งต่อไปได้ด้วยตนเอง
- การรับส่งผ้าต้องมือต่อมือเท่านั้น
- ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องไม่ขวางทางวิ่ง คู่ต่อสู้
- ผู้เข้าแข่งขันฝ่าฝืนกติกาจะถือว่าแพ้
ชักคะเย่อ
ผู้เล่น
หนึ่งทีมมีผู้เล่น 10 คน แยกเป็นเพศชาย 5 คน เพศหญิง 5 คน หรือให้มีผู้ชายได้ไม่เกิน 5 คน
อุปกรณ์
เชือกเส้นโตยาว 20 เมตร
วิธีการเล่น
- การเล่นให้ผู้เล่นจับอยู่ในบริเวณที่กำหนดห้ามจับเชือกเกินเขตให้รวมนักกีฬา 10 คน
- เมื่อกรรมการให้สัญญาณเริ่มเล่น ผู้เล่นทั้ง 2 ทีม ดึงเชือกให้เครื่องหมายของฝ่ายตรงข้ามเข้ามาถึงเขตของตน ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
กติกา
- การแข่งขันรอบคัดเลือก ใช้การแข่งขันครั้งเดียว ผู้ชนะเข้ารอบต่อไป
- รอบ 4 ทีมสุดท้าย ใช้ผลการแข่งขัน 3 ใน 3 เกม ทีมใดชนะเข้ารอบชิงชนะเลิศ
- การแข่งขันจะต้องแข่งขันพร้อมกันทุกทีมในรอบนี้
- อนุญาตให้มีผู้ฝึกสอนเข้าได้ 1 คน เท่านั้น
- หากทีมใดทำผิดกติกาถือว่าแพ้
- การตัดสินให้อยู่ในการควบคุมของกรรมการเท่านั้น
สะบ้าทอยคู่ (แข่งขันเดี่ยว)
ผู้เล่น
ให้แต่ละทีมส่งผู้เล่นหรือแข่งขันได้ทีมละไม่เกิน 2 คน
อุปกรณ์
- ลูกสะบ้าทอย คนละ 3 ลูก
- ลูกสะบ้าตั้ง คนละ 2 ลูก
- ลูกสะบ้าตั้งห่างกัน 7 เซนติเมตร
- สะทอยตั้งห่างกัน 10 เมตร
วิธีการเล่น
- ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายใครชนะการเสี่ยงให้เลือกเล่นก่อนหลัง ผู้เล่นจะถือลูกสะบ้าคนละ 3 คน แล้วไปยืนอยู่หลังเส้นเริ่มหรือหลังสะบ้าตั้งหันหน้าเข้าหากัน
- ผู้เริ่มเล่นก่อนให้โยนให้ถูกสะบ้าตั้งของคู่แข่งขันให้ล้ม 1 ลูกเท่านั้น แล้วโยนโต้กลับไปกลับมา ผลแพ้ชนะ อยู่ที่ว่าใครหมดก่อนกัน โดยโยนแล้วไม่ถูกลูกสะบ้าตั้งถือว่าแพ้ 1 กระดาน
- ต่อไปเริ่มเล่นโดยแบ่งลูกสะบ้ากันใหม่อีกคนละ 3 ลูกเท่าเดิม ฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ได้เล่นก่อน เรียกว่ากระด้านแก้โยนโต้กลับไปมาจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะกันหากใช้ผลการชนะ 2 ใน 3 เกม ทีมใดชนะ 2 กระดาน ให้เข้าแข่งขันรอบต่อไป
กติกา
- ผู้เล่นแต่ละคนต้องยืนทอยหลังเส้นเริ่มหรือหลังลูกสะบ้าตั้งคู่แข่งขัน
- การทอยจะทอยลูกสะบ้าตั้งลูกใดก่อนก็ได้
- การโยนลูกสะบ้าจนกว่าจะหมด ใครหมดก่อนแพ้
- ผู้ชนะใช้ผลการแข่งขัน 2 ใน 3 เกม
- หากมีลูกสะบ้าตั้งมีการเลื่อน เฉ เอียง ให้จัดตั้งวางใหม่
- หากกโยนลูกสะบ้าตั้ง 2 ลูกพร้อมกันถ้าว่าเน่าแพ้ 1 กระดาน
- การแข่งขันอยู่ในการควบคุมของผู้ตัดสิน
สะบ้ายิงหรือสะบ้าปั่น
ผู้เล่น
ทีมละ 5 คน ไม่จำกัดเพศ สามารถเปลี่ยนตัวนักกีฬาได้ ก่อนส่งรายชื่อนักกีฬาเข้าแข่งขัน
อุปกรณ์
- ลูกสะบ้าตั้ง จำนวน 5 ลูก แต่ละลูกห่างกัน 50 เซนติเมตร
- ลูกสะบ้ายิงคนละ 5 ลูก
- จุดนั่งยิงด้วยเข่าห้ามเกินเส้น ห่างจากลูกสะบ้าตั้ง 3 เมตร
วิธีการเล่น
- ให้ผู้เล่นแต่ละทีมส่งเข้าแข่งขันจับสลากลำดับการแข่งขัน แล้วทำการแข่งขันตามรายชื่อ ตามลำดับต่อไป
- ให้ทีมที่แข่งขันนั่งยิงทีละคน ๆ ละ 5 ลูก ให้ลูกสะบ้าตั้งล้ม 1 ลูกจะได้ 1 คะแนน นับคะแนนรวมกันทั้งหมด 5 คน จะได้คะแนนมากเข้าร่วมต่อไป
- รอบ 4 ทีมสุดท้าย ให้จับคู่แข่งขันดังนี้ ผู้มีคะแนนที่ 1 จับคู่แข่งขันกับทีมที่มีลำดับที่ 4 ใครมีคะแนนชนะเข้ารอบชิงชนะเลิศ ทีมที่มีคะแนนชนะที่ 2 และที่ 3 แข่งขันกัน ทีมใดได้คะแนนชนะเข้ารอบชิงชนะเลิศต่อไป
กติกา
- ผู้เล่นต้องมีลูกสะบ้ายิง 5 ลูก และมีลูกสะบ้าตั้งจำนวน 5 ลูก 5 ชุด เช่นกัน
- ทำการแข่งขันพร้อมกันนับคะแนนรวมกัน
- หากมีการยิงลูกสะบ้าแล้วลูกตั้งเอียง บิด ไม่ตรงจุดให้กรรมการจับตั้งจุดเดิมใหม่
- คะแนนรวมทีมใดได้มากเข้ารอบรองชนะเลิศ และเข้ารอบชิงชนะเลิศต่อไป
- การตัดสินของกรรมการถือเป็นการสิ้นสุดการแข่งขัน หากมีทีมใดไม่ปฏิบัติตามกติกาถือว่าเป็นทีมที่แพ้หรือถูกปรับแพ้
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ กีฬาสี มีไว้เพื่ออะไร